ประวัติส่วนตัว

ชื่อ                        ด.ญ.สุนิสา  สุภิษะ

ชื่อเล่น                  ใหม่

อายุ                       14   ปี

ที่อยู่                       44หมู่ 4 ต. แม่สุก อ. แจ้ห่ม  จ. ลำปาง 52120

โรงเรียน                  ทุ่งคาวิทยา

งานอดิเรก               ดูทีวี, ฟังเพลง , ร้องไห้

วิชาที่ชอบ                ศิลปะ ,  อังกฤษ , คอม , วิทยาศาสตร์

วิชาที่ไม่ชอบ           คณิตศาสตร์ , สังคม

อาหารที่ชอบ            ส้มตำ , พิซซ่า , ไก่ทอด , mk

สถานที่ที่ชอบไป      ทุกๆที่ที่มีเทอ

มารยาท ระเบียบ และข้อบังคับในการใช้อินเทอร์เน็ต

 การเข้าใช้งานอินเทอร์เน็ตของแต่ละคนมีจุดประสงค์ที่แตกต่างกัน บางคนต้องการเพียงส่งไปรษณีย์

อิเล็กทรอนิกส์  บางคนต้องการอ่านข่าว หรือประกาศข่าว บางคนต้องการใช้สำหรับติดต่อสื่อสาร บางคนต้องการค้น

หาข้อมูล หรือ ดาวน์โหลดโปรแกรม การใช้งานอินเทอร์เน็ตนั้นเป็นการใช้งานในกลุ่มบุคคลที่หลากหลาย ดังนั้น

การใช้งานอินเทอร์เน็ตของผู้ใช้นั้นอาจส่งผลกระทบต่อผู้ใช้อื่นด้วยความตั้งใจหรือไม่ก็ตาม นับว่าเป็นเรื่องที่ไม่

เหมาะสม ผู้ใช้งานทุกคนจึงจำเป็นต้องเรียนรู้เรื่องของมารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต  

 

     เนื่องจากผู้ใช้งานอินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน ทำให้การส่งข่าวสารถึงกันอาจจะสร้างปัญหา  

ให้กับผู้ใช้อื่นได้ และเพื่อประโยชน์สูงสุดขององค์กรจึงมีข้อปฏิบัติให้สมาชิกได้ใช้เครือข่ายร่วมกัน สมาชิกจึงต้อง

 เรียนรู้และทำความเข้าใจในข้อบังคับนั้นและต้องรับผิดชอบ ต่อการกระทำ ของตนเองที่ใช้บริการต่างๆ บนเครือข่าย 

 และไม่ละเมิด หรือกระทำการใดๆ ที่สร้างปัญหาและไม่เคารพกฏเกณฑ์ที่แต่ละองค์กรวางไว้ และจะต้องปฏิบัติตาม

คำแนะนำของผู้บริหารเครือข่ายย่อยหรือองค์กรนั้นอย่างเคร่งครัด เครือข่ายไม่ได้เป็นขององค์กรเดียว แต่เป็นกา

เชื่อมโยงกันระหว่างหลายเครือข่าย เข้าด้วยกัน ทำให้มีข้อมูลข่าวสารเดินทางอยู่บนเครือข่ายเป็นจำนวนมาก ดังนั้น

ผู้ใช้บริการบนอินเทอร์เน็ตต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาของ ข้อมูลข่าวสาร ที่เดินทางอยู่บนเครือข่าย

 

     เพื่อประโยชน์ในการใช้อินเทอร์เน็ต ควรใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์ ซึ่งมีกิจกรรมบางอย่างที่ไม่

ควรปฏิบัติ เช่น การกระจายข้อมูลไปยังปลายทางเป็นจำนวนมาก และการส่งจดหมายลูกโซ่ เป็นต้น    

 

 บัญญัติ 10 ประการ ของการใช้อินเทอร์เน็ต

มารยาทในการใช้อินเทอร์เน็ต เรียกว่าบัญญัติ 10 ประการของการใช้อินเทอร์เน็ตก็ได้ โดยอาจารย์ยืน ภู่วรวรรณ

 มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์  ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้าย หรือละเมิดผู้อื่น

 ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น

 ต้องไม่สอดแนม แก้ไข หรือเปิดดูแฟ้มข้อมูลของผู้อื่น

 ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร

 ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ

 ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมของผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์

 ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์

 ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน

 ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมที่เกิดจากการกระทำของท่าน

 ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ กติกา และมีมารยาท

คุณธรรมและจริยะธรรมในการใช้อินเทอร์เน็ต

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตมีเป็นจำนวนมากและเพิ่มขึ้นทุกวัน การใช้งานระบบเครือข่ายที่ออนไลน์และส่งข่าวสารถึงกันย่อมมีผู้ที่มี
ความประพฤติไม่ดีปะปนและสร้างปัญหาให้กับผู้ใช้อื่นอยู่เสมอ หลายเครือข่ายจึงได้ออกกฏเกณฑ์การใช้งานภายในเครือข่าย
เพื่อให้สมาชิกในเครือข่ายของตนยึดถือ ปฏิบัติตามกฏเกณฑ์และได้รับประโยชน์สูงสุด
ดังนั้น ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนที่เป็นสมาชิกเครือข่ายจะต้องเข้าใจกฏเกณฑ์ข้อบังคับของเครือข่ายนั้นมีความรับผิดชอบ
ต่อตนเองและผู้ร่วมใช้บริการคนอื่นและจะต้องรับผิดชอบต่อการกระทำของตนเองที่เข้าไปขอใช้บริการต่างๆ บนเครือข่ายบนระบบคอมพิวเตอร์
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตเรียกเข้ามิได้เป็นเพียงเครือข่ายขององค์กรที่ผู้ใช้สังกัด แต่เป็นการเชื่อมโยงของเครือข่ายต่างๆ
เข้าหากันหลายพันหลายหมื่นเครือข่ายมีข้อมูลข่าวสารอยู่ระหว่างเครือข่ายเป็นจำนวนมาก  การส่งข่าวสารในเครือข่ายนั้นอาจทำให้
ข่าวสารกระจายเดินทางไปยังเครือข่ายอื่น ๆ อีกเป็นจำนวนมากหรือแม้แต่การส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ฉบับหนึ่งก็อาจจะต้องเดิทางผ่าน
เครือข่ายอีกหลายเครือข่ายกว่าจะถึงปลายทาง  ดังนั้นผู้ใช้บริการต้องให้ความสำคัญและตระหนักถึงปัญหาปริมาณข้อมูลข่าวสารที่วิ่งอยู่บนเครือข่าย
การใช้งานอย่างสร้างสรรค์และเกิดประโยชน์จะทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตน่าใช้และเป็นประโยชน์ร่วมกันอย่างดี
กิจกรรมบางอย่างที่ไม่ควรปฏิบัติจะต้องหลีกเลี่ยงเช่นการส่งกระจายข่าวไปเป็นจำนวนมากบนเครือข่าย การส่งเอกสารจดหมายลูกโซ่ ฯลฯ
สิ่งเหล่านี้จะเป็นผลเสียโดยรวมต่อผู้ใช้และไม่เกิดประโยชน์ใด ๆ ต่อสังคมอินเทอร์เน็ต
เพื่อให้การอยู่ร่วมกันในสังคมอินเทอร์เน็ตสงบสุข  Arlene  H.Rinaldi แห่งมหาวิทยาลัย ฟอร์ริดาแอตแลนติก
จึงรวบรวมกฎกติกามารยาทและวางเป็นจรรยาบรรณอินเทอร์เน็ตหรือที่เรียกว่า Netiquette ไว้ดังนี้

จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์

ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตทุกคนมีเมล์บ็อกซ์หรืออีเมล์แอดเดรสที่ใช้อ้างอิงในการรับส่งจดหมาย  ความรับผิดชอบต่อการใช้งานอีเมล์ในระบบ
จึงเป็นเรื่องที่ทุกคนต้องให้ความสำคัญ เพราะจดหมายมีการรับส่งโดยระบบ ซึ่งหากมีจดหมายค้างในระบบจำนวนมากจะทำให้พื้นที่
บัฟเฟอร์ของจดหมายในระบบหมด  จะเป็นผลให้ระบบไม่สามารถรับส่งจดหมายต่อไปได้ หลายต่อหลายครั้งระบบปฏิเสธ
การรับส่งจดหมายเพราะไฟล์ระบบเต็ม
ดังนั้นจึงควรมีความรับผิดชอบในการดูแลตู้จดหมาย (mail box) ของตนเองดังนี้
ตรวจสอบจดหมายทุกวันและจะต้องจำกัดจำนวนไฟล์และข้อมูลในตู้จดหมายของตนให้เลือกภายในโควต้า ที่กำหนด

  • ลบข้อความหรือจดหมายที่ไม่ต้องการแล้วออกจากดิสต์เพื่อลดปริมาณการใช้ดิสก็ให้จำนวนจดหมายที่อยู่ในตู้จดหมาย

    (mail box) มีจำนวนน้อยที่สุด

  • ให้ทำการโอนย้ายจดหมายจากระบบไปไว้ยังพีซีหรือฮาร์ดดิสก์ของตนเองเพื่อใช้อ้างอิงในภายหลัง

  • พึงระลึกเสมอว่าจดหมายที่เก็บไว้ในตู้จดหมายนี้อาจถูกผู้อื่นแอบอ่านได้ ไม่ควรเก็บข้อมูลหรือจดหมายที่คุณคิดว่า

    ไม่ใช้แล้วเสมือนเป็นประกาศไว้ในตู้จดหมาย

จรรยาบรรณสำหรับผู้สนทนา

บนเครือข่ายอินเทอร์เน็ตมีคำสั่งให้ใช้ในการโต้ตอบกันอย่างออนไลน์หลายคำสั่งเช่น write, talk หรือมีการสนทนา
เป็นกลุ่มเช่น IRC เป็นต้น ในการเรียกหาหรือเปิดการสนทนาตลอดจนการสนทนาจะต้องมีมารยาทที่สำคัญได้แก่

  • ควรเรียกสนทนาจากผู้ที่เรารู้จักและต้องการสนทนาด้วย  หรือมีเรื่องสำคัญที่จะติดต่อด้วย

    ควรระลึกเสมอว่าการขัดจังหวะผู้อื่นที่กำลังทำงานอยู่อาจสร้างปัญหาให้ได้

  • ก่อนการเรียกคู่สนทนาควรสอบสถานะการใช้งานของคู่สนทนาที่ต้องการเรียกเพราะการเรียกแต่ละครั้ง

    จะมีข้อความไปปรากฏบนจอภาพของฝ่ายถูกเรียกซึ่งก็สร้างปัญหาการทำงานได้

    เช่น ขณะกำลังทำงานค้าง ftp ซึ่งไม่สามารถหยุดได้

  • หลังจากเรียกไปชั่วขณะคู่ที่ถูกเรียกไม่ตอบกลับ แสดงว่าคู่สนทนาอาจติดงานสำคัญ

    ขอให้หยุดการเรียกเพราะข้อความที่เรียกไปปรากฏบนจออย่างแน่นอนแล้ว

  • ควรให้วาจาสุภาพ และให้เกียรติซึ่งกันและกัน การแทรกอารมณ์ขัน ควรกระทำกับคนที่รู้จักคุ้นเคยแล้วเท่านั้น

จรรยาบรรณสำหรับผู้ใช้กระดานข่าว ระบบสื่อสารอิเล็กทรอนิกส์

ระบบข่าวสารที่ให้บริการในสังคมอินเทอร์เน็ตมีหลายระบบ เช่น ยูสเน็ตนิสว์  (UseNet News) ระบบสมาชิกแจ้งข่าวหลายสมาคม
บอกรับสมาชิกและให้ข่าวสารที่สม่ำเสมอกับสมาชิกด้วยการส่งเป็นจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ ที่เรียกว่า Mailing  lists
ผู้เสนอ ข่าวและผู้อภิปราเรื่องต่าง ๆที่เขียนลงไปจะกระจายออกไปทั่วโลก เช่นข่าวบนยูสเน็ตนิวส์แต่ละกลุ่มเมื่อส่งออกจะกระจาย
ไปยังเซิร์ฟเวอร์อื่น ๆ ทั่วโลกผู้ใช้บริการโดยเฉพาะที่ต้องการเขียนข่าวสารบนกระดาษ
ข่าวจะต้องเคารพกฏกติกามารยาทโดยเคร่งครัดข้อปฏิบัติที่สำคัญได้แก่

  • ให้เขียนเรื่องให้กระชับ ข้อความควรสั้นและตรงประเด็กไม่กำกวม ใช้ภาษาที่เรียบงาน สุภาพเข้าใจได้

  • ในแต่ละเรื่องที่เขียนให้ตรงโดยข้อความที่เขียนควรจะมีหัวข้อเดียวต่อเรื่อง

  • ในการเขียนพาดพิงถึงผู้อื่น ให้ระมัดระวังในการละเมิดหรือสร้างความเสียหายให้ผู้อื่น การให้อีเมล์อาจตรงประเด็นกว่า

  • ให้แหล่งที่มาของข้อความ ควรอ้างอิงแหล่งข่าวได้ ไม่เรียกว่าโคมลอยหรือข่าวลือหรือเขียนข่าวเพื่อความสนุก

    โดยขาดความรับผิดชอบ

  • จำกัดความยาวของข่าว และหลีกเลี่ยงตัวอักษรควบคุมพิเศษอื่น ๆ เพราะหลายเครื่องที่อ่านข่าวอาจมีปัญหาในการแสดงผล

  • ข่าวบางข่าวมีการกระจายกันมาเป็นลำดับให้ และอ้างอิงต่อ ๆ กันมาการเขียนข่าวจึงควรพิจารณาในประเด็นนี้ด้วย

    โดยเฉพาะอย่าส่งจดหมายตอบโต้ไปยังผู้รายงานข่าวผู้แรก

  • ไม่ควรให้เครือข่ายของมหาวิทยาลัยเพื่อประโยชน์ทางการค้าหรืองานเฉพาะของตนเพื่อประโยชน์ส่วนตนในเรื่องการค้า

  • การเขียนข่าวทุกครั้งจะต้องลงชื่อ และลายเซนตอนล่างของข้อความเพื่อบอกชื่อ  ตำแหน่งแอดเดรสที่อ้างอิงได้ทางอินเทอร์เน็ต

    หรือให้ที่อยู่และหมายเลขโทรศัพท์ที่ติดต่อได้

  • ในการทดสอบการส่งไม่ควรทำพร่ำเพื่อการทดสอบควรกระทำในกลุ่มข่าวท้องถิ่นที่เปิดให้ทดสอบการส่งข่าวอยู่แล้ว

    เพราะการส่งข่าวแต่ละครั้งจะกระจายไปทั่วโลก

  • หลีกเลี่ยงการใช้ตัวอักษรใหญ่ตัวอักษรใหญ่ที่มีความหมายถึงการตะโกนหรือการแสดงความไม่พอใจในการเน้น

    คำให้ใช้เครื่องหมาย * ข้อความ* แทน

  • ไม่ควรนำข้อความที่ผู้อื่นเขียนไปกระจายต่อโดยไม่ได้รับอนุญาตจากเจ้าของเรื่อง

  • ไม่ควรใช้ข้อความตลกขบขันหรือคำเฉพาะคำกำกวม หรือคำหยาบคายในการเขียนข่าว

  • ให้ความสำคัญในเรื่องลิขสิทธิ์ไม่ควรละเมิดลิขสิทธิ์ผู้อื่น

  • ไม่ควรคัดลอกข่าวจากที่อื่นเช่น จากหนังสือพิมพ์ทั้งหมดโดยไม่มีการสรุปย่อและเมื่อส่งข่าวย่อจะต้องอ้างอิงที่มา

  • ไม่ควรใช้กระดานข่าวเป็นที่ตอบโต้หรือละเมิดผู้อื่น

  • เมื่อต้องการใช้คำย่อ คำย่อที่เป็นที่รู้จักกันทั่วไป เช่น

    • IMHO-in  my  humble /  honest  opinion

    • FYI-for  your  information

    • BTW-by  the  way

  • การเขียนข้อความจะต้องไม่ใช้อารมณ์หรือความรู้สึกส่วนตัวและระลึกเสมอว่าข่าวที่เขียนหรืออภิปรายนี้กระจายไปทั่วโลก

    และมีผู้อ่านข่าวจำนวนมาก

  • ในการเขียนคำถามลงในกลุ่มข่าวจะต้องส่งลงในกลุ่มที่ตรงกับปัญหาที่เขียนนั้น และเมื่อจะตอบก็ต้องให้ตรงประเด็น

  • ในการบอกรับข่าวด้วย mailing  list  และมีข่าวเข้ามาจำนวนมากทางอีเมล์จะต้องอ่านข่าว และโอนมาไว้ที่เครื่องตน

    (พีซี) หรือลบออกจาก mail box และหากไม่อยู่หรือไม่ได้เปิดตู้จดหมายเกินกว่าหนึ่งสัปดาห์จะต้องส่งไปบอกยกเลิกการรับ

    เพื่อว่าจะได้ไม่มีจดหมายส่งเข้ามามาก

        บัญญัติ 10 ประการ

        ต่อไปนี้เป็นจรรยาบรรณที่ผู้ใช้อินเทอร์เน็ตยึดถือไว้เสมือนเป็นแม่บทแห่งการปฏิบัติเพื่อระลึกและเตือนความจำเสมอ
1.       ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์ทำร้ายหรือละเมิดผู้อื่น
2.       ต้องไม่รบกวนการทำงานของผู้อื่น
3.       ต้องไม่สอดแนมหรือแก้ไขเปิดดูในแฟ้มของผู้อื่น
4.       ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์เพื่อการโจรกรรมข้อมูลข่าวสาร
5.       ต้องไม่ใช้คอมพิวเตอร์สร้างหลักฐานที่เป็นเท็จ
6.       ต้องไม่คัดลอกโปรแกรมผู้อื่นที่มีลิขสิทธิ์
7.       ต้องไม่ละเมิดการใช้ทรัพยากรคอมพิวเตอร์โดยที่ตนเองไม่มีสิทธิ์
8.       ต้องไม่นำเอาผลงานของผู้อื่นมาเป็นของตน
9.       ต้องคำนึงถึงสิ่งที่จะเกิดขึ้นกับสังคมอันติดตามมาจากการกระทำ
10.    ต้องใช้คอมพิวเตอร์โดยเคารพกฎระเบียบ  กติกามารยาท

จรรยาบรรณเป็นสิ่งที่ทำให้สังคมอินเทอร์เน็ตเป็นระเบียบความรับผิดชอบต่อสังคมเป็นเรื่องที่จะต้องปลูกฝังกฎเกณฑ์
ของแต่ละเครือข่ายจึงต้องมีการวางระเบียบเพื่อให้การดำเนินงานเป็นไปอย่างมีระบบและเอื้อประโยชน์ซึ่งกันและกัน
บางเครือข่ายมีบทลงโทษและจรรยาบรรณที่ชัดเจน  เพื่อช่วยให้สังคมสงบสุขและหากการละเมิดรุนแรงกฎหมาย
ก็จะเข้ามามีบทบาทได้เช่นกัน

อินเทอร์เน็ตกับผลกระทบต่อสังคมไทย

        อินเทอร์เน็ตเริ่มเข้ามาเป็นส่วนหนึ่งของสังคมไทย ดังจะเห็นได้จากหนังสือพิมพ์วารสาร รายการทางโทรทัศน์ และวิทยุต่างๆ
ได้นำเรื่องของอินเทอร์เน็ตเป็นส่วนหนึ่งของเนื้อหาที่นำเสนอต่อสารธารณะในแง่มุมต่างๆ มีทั้งนำเสนอเรื่องราวที่เป็นแง่บวกและลบ
จึงเป็นเรื่องที่ต้องมีการพิจารณากันให้ถี่ถ้วนมายิ่งขึ้น แนวโน้มของการเผยแพร่ข้อมูลผ่านทางอินเทอร์เน็ตนั้นมีมากขิ่งขึ้นและในรูปแบบ
ที่หลากหลายมากว่าเดิม การห้ามไม่ให้มีการเผยแพร่วัฒนธรรมต่างชาติเข้ามานั้นเป็นสิ่งที่เป็นไปไม่ได้ ดังนั้นแต่ละสังคมหรือประเทศนั้น
จำเป็นต้องมีการดำเนินการบางประการเพื่อให้วัฒนธรรมท้องถิ่นที่ดีไม่ถูกกลืนหรือสูญหายไปจากสังคม วิธีการหนึ่งก็คือการส่งเสริม
และให้มีการเผยแพร่วัฒนธรรมผ่านทางสื่ออินเทอร์เน็ตซึ่งสามารถทำได้ง่าย และได้กลุ่มผู้รับข่าวสารมากยิ่งขึ้น
การใช้อินเทอร์เน็ตมีผลกระทบทั้งด้านบวกและลบ ผลกระทบทางด้านบวก เช่น สามารถได้รับความรู้และข้อมูลข่าวสารมากยิ่งขึ้น
ทำให้ประชาชนมีความรู้ สามารถหาข้อมูลที่เป็นประโยชน์ปละทันสมัย ได้จากแหล่งข้อมูลต่างๆ ในอินเทอร์เน็ต และยังทำให้
สามารถติดต่อสื่อสารถึงกันได้สะดวก รวดเร็ว และไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายสูง สำหรับผลกระทบทางด้านลบ เช่น อาจจะทำให้เยาวชน
ได้รับข้อมูลหรือภาพในทางที่ไม่ดีได้ ดังนั้นผู้ปกครองจำเป็นต้องช่วยดูและบุตรหลานในการใช้อินเทอร์เน็ต เช่น ดูแลให้ใช้อินเทอร์เน็ต
เพื่อหาข้อมูลเกี่ยวกับการเรียนหรือเทคโนโลยีที่ทันสมัยและใช้ในการติดต่อสื่อสารกับผู้อื่น ไม่ว่าจะเป็นการส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส
์หรือการสนทนาบนเครือข่าย แต่อย่างไรก็ตามต้องใช้ด้วยความรอบคอบ  ควรตระหนักถึงประโยชน์ที่จะได้รับ สนทนาใน
เรื่องที่เป็นประโยชน์ และต้องตระหนักถึงความจำเป็นและความเหมาะสมในเรื่องของเวลา และเนื้อหาที่ใช้ในการสนทนาด้วย

ข้อควรระวัง 
การใช้งานอินเทอร์เน็ตในการส่งข้อมูลอาจจะทำให้เกิดความไม่เสมอภาคกันในเรื่องของการรับข้อมูลข่าวสารได้
ยกตัวอย่าง เช่น ในขณะนี้กระทรวงสาธารณสุขได้เผยแพร่ข้อมูลเรื่องโรคระบาดผ่านเครือข่ายอินเทอร์เน็ต
คนที่อาศัยอยู่ในเมืองสามารถรับทราบข่าวนี้ได้ และมีการเตรียมตัวเพื่อป้องกันโรคระบาดเพื่อไม่ให้เกิดขึ้นกับตน
แต่คนที่อาศัยอยู่ในชนบทไม่สามารถรับข้อมูลทางอินเทอร์เน็ตได้ อาจจะเนื่องจากไม่มีอุปกรณ์ เทคโนโลยี
และความรู้ในการติดต่อสื่อสารผ่านอินเทอร์เน็ต ทำให้ไม่สามารถเตรียมตัวป้องกันและติดโรคระบาดนี้ในที่สุด
จะเห็นว่าจากตัวอย่างนี้ เป็นผลกระทบของอินเทอร์เน็ตในเรื่องของความเสมอภาคในการรับข้อมูลข่าวสาร
ฉะนั้นการใช้อินเทอร์เน็ตต้องพิจารณาอย่างถี่ถ้วนและนำเสนอให้คนทั่วไปเข้าใจว่าอินเทอร์เน็ตเป็นเพียง
สื่อหนึ่งเหมือนกับสื่อทั่วไป สื่อจะดีหรือไม่นั้นขึ้นอยู่กับผู้ใช้

การใช้บริการต่างๆบนอินเทอร์เน็ต

บริการต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ต
 
บริการต่าง ๆ ในอินเทอร์เน็ต1. ไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail : Electronics mail)

2. เครือข่ายใยแมงมุม (WWW : World Wide Web)

3. การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol)

4. การทำงานข้ามเครื่อง (TelNet)

5. การสนทนาบนเครือข่าย(IRC : Internet Relay Chat)

6. กลุ่มข่าวที่สนใจ (UseNet)

7. การค้นหาข้อมูลและไฟล์ข้อมูล(Gopher/Archie)

1. ไปรษณีอิเล็กทรอนิกส์ (E-mail : Electronics mail)

เป็นบริการที่ช่วยให้สามารถส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์โดยที่ผู้ส่งจะใช้บัญชีอินเทอร์เน็ต (E-mail Adrress) ส่งข้อมูลประเภทข้อความ รูปภาพ หรือเสียง ผ่านจอคอมพิวเตอรื ไปยังบัญชีอินเทอร์เน็ตของผู้รับ หากผู้รับไม่อยู่ที่จอคอมพิวเตอร์จดหมายนี้จะถูกเก็บไว้ในตู้ โดยที่ผู้รับจะรับเวลาใดหรือตอบกลับเวลาใดก็ได้

ผู้ใช้บริการสามารถติดต่อรับ/ส่งไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ กับผู้ใช้อินเทอร์เน็ตได้ทั่วโลกได้ ซึ่งสะดวก รวดเร็ว ประหยัดเวลาและค่าใช้จ่าย

2. เครือข่ายใยแมงมุม (WWW : World Wide Web)

เป็นบริการค้นหาและแสดงข้อมูลในแบบสื่อประสม(Multimedia) คือจะเป็นข้อมูลที่มีทั้งข้อความ ภาพ และเสียงประกอบกัน ซึ่งเป็นบริการที่แพร่หลาย ขยายตัวเร็วที่สุดบนอินเทอร์เน็ต

โปรแกรมที่เป็นประตูเข้าสู่โลก World Wide Web ในปัจจุบันมีหลายรายแต่ที่ได้รับความนิยม คือ Nestcape Communicator) และ Internet Explorer โดยที่ผู้ใช้บริการต้องระบุ URL (Uniform Resource Locator) เป็นที่อยูของเอกสารในเครือข่ายอินเทอร์เน็ต เช่น http://www.nu.ac.th

nu หมายถึง มหาวิทยาลัยนเรศวร

ac หมายถึง องค์กรที่เกี่ยวข้องกับการศึกษา

th หมายถึง ประเทศไทย

3. การถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (FTP : File Transfer Protocol)

เป็นบริการที่ใช้ในการโอนย้ายแฟ้มข้อมูลหรือโปรแกรมต่าง ๆ ที่ต้องการบนเครือข่ายคอมพิวเตอร์ จากเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังคอมพิวเตอร์อีกเครื่องหนึ่งในระบบการสั่งไฟล์นี้อาจเป็นการส่งผ่านเครื่องใด ๆ ในระบบมาไว้ยังเครื่องของเรา ซึ่งเรียกว่า ดาวน์โหลด(Download) หรือส่งผ่านจากเครื่องเราไปยังเครื่องอื่นๆ ในระบบ เรียกว่า การอัพโหลด(Upload)

4. การทำงานข้ามเครื่อง (TelNet)

บริการที่ผู้ใช้บริการต้องการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นๆ ตั้งอยู่ไกลออกไปเพื่อเข้าใช้งานเครื่องอื่น ๆ ได้ทั่วโลกเหมือนกับเราไปที่เครื่องนั้นเอง จะต้องมีชื่ออยู่ในสารบบที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ได้ โดยจะใช้ระบุชื่อ และรหัสผ่าน ถ้าระบุได้ถูกต้องก็จะสามารถเข้าไปใช้งานได้ทันที

5. การสนทนาบนเครือข่าย(IRC : Internet Relay Chat)

ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกันทางตัวอักษรบนจอคอมพิวเตอร์ หรือ คุยกันเป็นกลุ่มหลาย ๆ คน ในลักษณะของการ Chat เช่น โปรแกรม Microsoft Chat ,Pirch และ ICQ เป็นต้น ยังมีโปรแกรมที่พัฒนาให้สามารถพูดโต้ตอบกันผ่านระบบคอมพิวเตอร์ได้เช่นเดียวกับทางโทรศัพท์ เช่น โปรแกรม Cooltalk เป็นต้น

6. กลุ่มข่าวที่สนใจ (UseNet)

เป็นบริการที่ช่วยให้เข้าถึงข้อมูลและข่าวสารของกลุ่มสนทนาแลกเปลี่ยนข่าวสารต่าง ๆ เพื่อให้ผู้สนใจตรงกัน หรือคล้าย ๆ กัน ได้ส่งข่าวติดต่อกันและแลกเปลี่ยนแนวคิด

7. การค้นหาข้อมูลและไฟล์ข้อมูล(Gopher/Archie)

เป็นบริการสืบค้นข้อมูล โกเฟอร์(Gopher) เป็นโปรแกรมที่ใช้ในการค้นหาข้อมูลเพียงค้นหาทีละหัวข้อ แต่ละหัวข้อจะมีเมนูย่อย ๆ ให้เลือก อาร์ชี(Archie) ผู้ใช้บริการทราบเพียงรายละเอียดบางอย่างก็จะแสดงรายชื่อออกมาให้ผู้ใช้ทราบว่าอยู่ที่ใดบ้าง

การเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ต

การเชื่อมต่ออินเทอร์เนต

 การเชื่อมต่ออินเทอร์เนตสามารถเชื่อมต่อได้สองลักษณะด้วยกันได้แก่ 

ส่วนใหญ่การเชื่อมต่อแบบหมุนโมเด็ม (Remote Access) จะเป็นการเชื่อมต่อมาจากทางบ้าน และการเชื่อมต่อแบบ LAN จะเป็นการเชื่อมต่อภายในองค์กร โดยจะขอกล่าวถึงการเชื่อมต่อแบบหมุนโมเด็มก่อน ดังนี้

การเชื่อมต่อโดยหมุนโมเด็ม (Remote Access)

การเชื่อมต่ออินเทอร์แบบนี้สิ่งที่จำเป็นจะต้องมีได้แก่

1.การขออนุญาตและเสียค่าบริการให้ผู้บริการอินเทอร์เน็ต Internet Service Provider (ISP)
หรือที่สถาบันที่ท่านศึกษา หรือหน่วยงานที่ท่านทำงานอยู่
โดยสิ่งที่ได้คือ ชื่อผู้ใช้ (Internet Account ) และรหัสผ่าน (Password)


2.สายโทรศัพท์

3.โมเด็ม อาจจะเป็น Internal Modem หรือ External Modemเครื่องคอมพิวเตอร์โปรแกรมสื่อสารข้อมูล (Communication Program)

ขั้นตอน

1. เข้ามาที่ เริ่ม Start => Setting => Dial-Up Networking  ตามลำดับ ดังภาพ

2.จะได้กรอบ Dial-Up Networking ให้ดับเบิลคลิกที่ Make New Connect  ดังภาพ

3.ที่กรอบ Make New Connect นี้ ในช่อง Type a name for the computer you are dialing ให้ตั้งชื่อหน่วยงานหรือ ISP ที่ต้องการต่อเชื่อมอินเทอร์เนต แล้วคลิกปุ่ม Next

4.จากนั้นกำหนดหมายโทรศัพท์ที่หน่วยงานกำหนดให้สามารถต่อเชื่อมอินเทอร์เนตได้
ในช่อง Area code กำหนดรหัสทางไกล และช่อง Telephone กำหนดหมายเลขโทรศัพท์
แล้วกดปุ่ม Next

5.มาถึงตอนนี้ก็เป็นอันเสร็จขั้นตอนการกำหนดให้เครื่องคอมพิวเตอร์หมุนโมเด็ม ให้คลิกปุ่ม Finish

6.ท่านก็จะได้ Icon เพื่อการหมุนโมเด็มเพื่อติดต่ออินเทอร์เนต ดังภาพ

7. มาถึงตอนนี้ก็จะเป็นหมุนโมเด็มเพื่อเชื่อมต่ออินเทอร์เนต โดยการดับเบิลคลิกที่ Icon NU University ดังกล่าว
ในช่อง User name ให้ท่านใส่ User name ที่ได้รับจากหน่วยงานหรือ ISP
ในช่อง Password ให้ใส่ Password ที่ได้รับเช่นกัน
เรียบร้อยให้คลิกปุ่ม Connect

8.จากนั้นคอมพิวเตอร์ก็จะทำการหมุนโมเด็มเพื่อเชื่อมต่อระบบอินเทอร์เนต
หากสามารถเชื่อมต่อได้ ท่านก็สามารถใช้บริการอินเทอร์เนตได้

9. เป็นไปได้ในบางครั้งคู่สายอาจจะไม่ว่าง เนื่องจากมีผู้ใช้อินเทอร์เนตมาก
เราก็จำเป็นต้องหมุนใหม่ โดยการคลิกที่ปุ่ม Connect อีกครั้ง

เท่านี้ก็เป็นอันเสร็จสิ้นขั้นตอนการเชื่อมต่ออินเทอร์เนตโดยหมุนโมเด็ม (Remote Access)
หากท่านไม่สามารถใช้บริการได้ก็ขอให้ติดต่อกับผู้ให้บริการ System Admin ได้โดยตรง
ต่อไปจะได้กล่าวถึงการเชื่อมต่ออินเทอร์เนตในระบบ LAN

การเชื่อมต่อแบบระบบ LAN 

การทำงานของอินเทอร์เน็ต

 การสื่อสารข้อมูลด้วยคอมพิวเตอร์จะมีโปรโตคอล(Protocol)ซึ่งเป็นระเบียบวิธีการสื่อสารที่เป็นมาตรฐานของ การเชื่อมต่อกำหนดไว้โปรโตคอลที่เป็นมาตรฐานสำหรับการเชื่อมต่ออินเทอร์เน็ตคือTCP/IP(TransmissionContro Protocol/InternetProtocol) เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่เชื่อมต่อเข้ากับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจะต้องมีหมายเลข ประจำเครื่องที่เรียกว่า IP Address เพื่อเอาไว้อ้างอิงหรือติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆในเครือข่าย ซึ่ง IP ในที่นี้ก็คือ Internet Protocolตัวเดียวกับใน TCP/IP นั่นเอง IP address ถูกจัดเป็นตัวเลขชุดหนึ่งขนาด 32 บิต ใน 1 ชุดนี้จะมีตัวเลขถูกแบ่งออกเป็น4ส่วนส่วนละ8บิตเท่าๆกันเวลาเขียนก็แปลงให้เป็นเลขฐานสิบก่อนเพื่อความง่าย
แล้วเขียนโดยคั่นแต่ละส่วนด้วยจุด (.) ดังนั้นในตัวเลขแต่ละส่วนนี้จึงมีค่าได้ไม่เกิน 256 คือตั้งแต่ 0 จนถึง 255เท่านั้นเช่นIPaddressของเครื่องคอมพิวเตอร์ของสถาบันราชภัฎสวนดุสิตคือ203.183.233.6ซึ่งIPAddressชุดนี้ จะใช้เป็นที่อยู่เพื่อติดต่อกับเครื่องคอมพิวเตอร์อื่นๆในเครือข่ายโดเมนเนม(Domainnamesystem:DNS)เนื่องจาก การติดต่อสื่อสารกันกันในระบบอินเตอร์เน็ตใช้โปรโตคอลTCP/IPเพื่อสื่อสารกันโดยจะต้องมีIPaddressในการอ้างอิงเสมอ แต่ IP address นี้ถึงแม้จะจัดแบ่งเป็นส่วนๆแล้วก็ยังมีอุปสรรคในการที่ต้องจดจำถ้าเครื่องที่อยู่ในเครือข่ายมีจำนวนมากขึ้นการจดจำหมายเลขIPดูจะเป็นเรื่องยากและอาจสับสนจำผิดได้  แนวทางแก้ปัญหาคือการตั้งชื่อหรือตัวอักษรขึ้นมาแทนที่ IP address ซึ่งสะดวกในการจดจำมากกว่า เช่น IP address คือ 203.183.233.6 แทนที่ด้วยชื่อ dusit.ac.th ผู้ใช้งานสามารถ จดจำชื่อ dusit.ac.th ได้ง่ายกว่า การจำตัวเลข โดเมนที่ได้รับความนิยมกันทั่วโลก ที่ถือว่าเป็นโดเมนสากล มีดังนี้ คือ
. com ย่อมาจาก commercial สำหรับธุรกิจ
. edu ย่อมาจาก education สำหรับการศึกษา
. int ย่อมาจาก International Organization สำหรับองค์กรนานาชาติ
. org ย่อมาจาก Organization สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
. net ย่อมาจาก Network สำหรับหน่วยงานที่มีเครือข่ายของ ตนเองและทำธุรกิจด้านเครือข่าย

การขอจดทะเบียนโดเมน
การขอจดทะเบียนโดเมนต้องเข้าไปจะทะเบียนกับหน่วยงานที่รับผิดชอบชื่อโดเมนที่ขอจดนั้นไม่
สามารถซ้ำกับชื่อที่มีอยู่เดิมเราสามารถตรวจสอบได้ว่ามีชื่อโดเมนนั้นๆ หรือยังได้จากหน่วยงานที่เรา
จะเข้าไปจดทะเบียนการขอจดทะเบียนโดเมน มี 2 วิธี ด้วยกัน คือ
1. การขอจดะเบียนให้เป็นโดเมนสากล (.com .edu .int .org .net ) ต้องขอจดทะเบียนกับ
http://www.networksolution.com ซึ่งเดิม คือ http://www.internic.net
2. การขอทดทะเบียนที่ลงท้ายด้วย .th (Thailand)ต้องจดทะเบียนกับ http://www.thnic.net
โดเมนเนมที่ลงท้าย ด้วย .th ประกอบด้วย
. ac.th ย่อมาจาก Academic Thailand สำหรับสถานศึกษาในประเทศไทย
. co.th ย่อมาจาก Company Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจในประเทศไทย
. go.th ย่อมาจาก Government Thailand สำหรับหน่วยงานต่างๆ ของรัฐบาล
. net.th ย่อมาจาก Network Thailand สำหรับบริษัทที่ทำธุรกิจด้านเครือข่าย
. or.th ย่อมาจาก Organization Thailand สำหรับหน่วยงานที่ไม่แสวงหากำไร
. in.th ย่อมาจาก Individual Thailand สำหรับของบุคคลทั่วๆ ไป

  การส่งถ่ายข้อมูลในอินเตอร์เน็ต
การส่งข้อมูลจากคอมพิวเตอร์เครื่องหนึ่งไปยังอีกเครื่องหนึ่ง ไม่ได้ส่งข้อมูลเป็นชุดยาวๆ หากแต่ส่งไปเป็นชิ้นๆเป็นชุดๆหรือเรียกกันทั่วไปว่าแพ็กเกต(Packet)แพ็กเกตจะถูกส่งไปตามสายเคเบิล เมื่อไปถึงผู้รับแล้วแพ็กเกตจะมารวมกันเป็นข้อความยาวๆเหมือนเดิมแต่ถ้าแพ็กเกตใดขาดหายหรือตกหล่น คอมพิวเตอร์ก็จะตรวจสอบและส่งแพ็กเกตมาใหม่จนข้อมูลครบเหมือนเดิมการที่ข้อมูลจะถูกส่งถ่ายเข้าไปในเครื่องคอมพิวเตอร์หลากหลายชนิดที่เชื่อมต่อกันในระบบเครือข่ายนั้นจะมีปัญหาและอุปสรรคในการสื่อสารทำให้ไม่อาจส่งถ่ายข้อมูลได้สะดวก จึงได้มีการพัฒนาภาษากลางสำหรับสื่อสารระหว่างคอมพิวเตอร์ขึ้นมา เพื่อให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทุกชนิดสามารถสื่อสารกันได้ ภาษาดังกล่าวเรียกว่า TCP/IP ย่อมาจากคำว่า Transmission Control Protocol/Internet Protocol

การวิ่งไป-มาของข้อมูลจะผ่านเส้นทางหลักที่เรียกว่า แบ็กโบน (Backbone) ผ่านทางเร้าเตอร์ (Router)ซึ่งเปรียบเสมือนบริษัทตัวการเส้นทางให้ข้อมูลเดินทางไป-มาได้สะดวกและรวดเร็วถึงจดหมาย ปลายทางได้สะดวกปลอดภัย

อินเตอร์เน็ตในประเทศไทยเริ่มขึ้นเมื่อปีพ.ศ.2530โดยการเชื่อมต่อมินิคอมพิวเตอร์ของมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) ไปยังมหาวิทยาลัยเมลเบิร์น ประเทศออสเตรเลีย แต่ในครั้งนั้นยังเป็นการเชื่อมต่อโดยผ่านสายโทรศัพท์ ซึ่งสามารถส่งข้อมูลได้ช้าและไม่เป็นการถาวร 
Thailand Map
จนกระทั่งในปี พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC) ได้ทำการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์กับมหาวิทยาลัย 6 แห่ง ได้แก่ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT), มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์, ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (NECTEC), มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ เข้าด้วยกันเรียกว่า “เครือข่ายไทยสาร” โดยสำนักวิทยบริการ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยได้เช่าวงจร สื่อสารความเร็ว 9600 บิตต่อวินาที จากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อเชื่อมเข้าสู่อินเตอร์เน็ตที่ “บริษัท ยูยูเน็ตเทคโนโลยี ประเทศสหรัฐอเมริกา”

ในปี พ.ศ. 2536 NECTEC ได้เช่าวงจรสื่อสารความเร็ว 64 กิโลบิตต่อวินาทีจากการสื่อสารแห่งประเทศไทยเพื่อ เพิ่มความสามารถในการขนส่งข้อมูล ทำให้ประเทศไทยมีวงจรสื่อสารระดับ ที่ให้บริการแก่ผู้ใช้ไทยสารอินเทอร์เน็ต 2วงจรในปัจจุบันวงจรเชื่อมต่อไปยัง ต่างประเทศที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย และ NECTEC ได้รับการปรับปรุงให้มีความ เร็วสูงขึ้นตามลำดับ นับตั้งแต่นั้นมาเครือข่ายไทยสารได้ขยายตัวกว้างขึ้น และมีหน่วยงานอื่นเชื่อมเข้ากับ ไทยสารอีกหลายแห่งในช่วงต่อมเครือข่ายไทยสารเติบโตอย่างต่อเนื่อง โดยมีมหาวิทยาลัยและหน่วยงานราชการเข้ามาเชื่อมต่อกับเครือข่ายนี้เพิ่มขึ้นอีกจำนวนมาก จะเห็นได้ว่าอินเตอร์เน็ตในประเทศขณะนั้นยังจำกัดอยู่ในวงการศึกษาและการวิจัยเท่านั้น ไม่ได้เป็นเครือข่ายที่ให้บริการในรูปของธุรกิจ แต่ทางสถาบันนั้น ๆ จะเป็นผู้รับผิดชอบค่าใช้จ่ายเอง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2537 ความต้องการในการใช้อินเตอร์เน็ตจากภาคเอกชนมีมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย(กสท.) จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชน เปิดบริการอินเตอร์เน็ตให้แก่บุคล ผู้สนใจทั่วไปได้สมัครเป็นสมาชิกตั้งขึ้นในรูปแบบของบริษัทผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ เรียกว่า “ผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต” หรือ ISP (Internet Service Provider)

ข้อมูลบนอินเตอร์เน็ตจะถูกส่งผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์และระบบการสื่อสารซึ่งในแต่ละพื้นที่หรือแต่ละประเทศซึ่งจะต้องรับผิดชอบกันเองเพื่อเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ของโลกให้ได้ดังนั้นจึงเป็นหน้าที่ของผู้ให้บริการอินเตอร์เน็ต(ISP)ซึ่งได้แก่องค์กรที่ทำหน้าที่ให้บริการเชื่อมต่อสายสัญญาณจากแหล่งต่างๆ ของผู้ใช้บริการ เช่น จากที่บ้าน สำนักงาน สถานบริการ และแหล่งอื่นๆ เพื่อเชื่อมต่อกับระบบใหญ่ออกไปนอกประเทศได้

การเชื่อมต่อเข้าสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ตนั้นสามารถทำได้หลายแบบ ซึ่งแต่ละแบบจะต้องใช้อุปกรณ์ที่แตกต่างกันไป ดังนี้

  • การเชื่อมต่อแบบบุคคลเป็นการเชื่อมต่อของบุคคลธรรมดาทั่วไปซึ่งสามารถขอเชื่อมต่อ

    เข้าสู่ระบบอินเตอร์เน็ตได้โดยใช้เครื่องคอมพิวเตอร์ที่ใช้อยู่ อาจจะเป็นที่บ้านหรือที่ทำงาน เชื่อมต่อผ่านทางสายโทรศัพท์ ผ่านอุปกรณ์ ที่เรียกว่า โมเด็ม (Modem) ซึ่งค่าใช้จ่ายไม่สูง

    มากนัก เรามักเรียกการเชื่อมต่อแบบนี้ว่า การเชื่อมต่อแบบDialUpโดยผู้ใช้ต้องสมัครเป็น

    สมาชิกของ ISP เพื่อขอเชื่อมต่อผ่านทาง SLIP หรือ PPP account

  • การเชื่อมต่อแบบองค์กร เป็นองค์กรที่มีการจัดตั้งระบบเครือข่ายใช้งานภายในองค์กรอยู่แล้ว จะสามารถนำเครื่องแม่ข่าย (Server) ของเครือข่ายนั้นเข้าเชื่อมต่อกับ ISP เพื่อเชื่อมโยง เข้าสู่

    ระบบ อินเตอร์เน็ตได้เลย โดยผ่านอุปกรณ์ชี้เส้นทาง Router และสายสัญญาณเช่า

    (ตลอด 24 ชั่วโมง)

อุปกรณ์สำหรับการเชื่อมต่ออินเตอร์เน็ต
1.  คอมพิวเตอร์ ควรเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาของหน่วยประมวลผลตั้งแต่
166 MHz มีหน่วยความจำหลัก RAM ตั้งแต่ 16 MB ขึ้นไป

2. โมเด็ม (Modulator Demodulator Machine) คืออุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แปลงข้อมูลที่ได้จาก เครื่องคอมพิวเตอร์ไปเป็นสัญญาณไฟฟ้ารูปแบบหนึ่ง(Impulse)ซึ่งสามารถส่งผ่านสาย
โทรศัพท์ทั่วไปได้ซึ่งสัญญาณโทรศัพท์นั้นจะเป็นสัญญาณอนาล็อก ส่วนสัญญาณข้อมูล
ที่มาจากคอมพิวเตอร์จะเป็นสัญญาณดิจิตอล ทำให้ต้องใช้โมเด็มในการแปลงสัญญาณ
อนาล็อกเป็นดิจิตอลและดิจิตอลเป็นอนาล็อกซะก่อน โมเด็มสามารถแยกได้เป็น 3 ชนิด
แต่ละชนิดก็มีข้อดีข้อเสียแตกต่างกันไปดังนี้

–  โมเด็มแบบติดตั้งภายในโมเด็มชนิดนี้จะมีลักษณะเป็นแผ่นวงจรอิเล็กทรอนิกส์นำมา
ติดตั้งเข้ากับภายในตัวเครื่องคอมพิวเตอร์์โดยตรงรูปร่างจะแตกต่างกันตามที่ผู้ผลิตจะ
ออกแบบมาสำหรับคอมพิวเตอร์ชนิดนั้นๆโมเด็มชนิดนี้จะใช้ไฟฟ้าจากสล็อตบนเมน
บอร์ดทำให้เราไม่ต้องต่อไฟหม้อแปลงต่างหากจากภายนอกส่วนมากโมเด็มติดตั้งภาย-
ในจะทำการติดตั้ง ผ่านทาง Port อนุกรม RS-232C รวมอยู่ด้วย ทำให้ไม่มีปัญหาในเรื่อง
portอนุกรมรุ่นเก่าที่ติดมากับเครื่องคอมพิวเตอร์การเชื่อมต่อโมเด็มกับเครื่องคอมพิว-
เตอร์จะต่อทางslotมาตรฐานในเครื่องคอมพิวเตอร์และเมื่อติดตั้งแล้วจะไม่เปลืองเนื้อ
ที่ภายนอกใดๆเลยและโมเด็มสำหรับติดตั้งภายในจะมีจุดให้ผู้ใช้เสียบสายโทรศัพท์เข้า
กับโมเด็มโดยใช้ปลั๊กโทรศัพท์์ธรรมดาแบบ RJ-11 และมีลำโพงประกอบด้วย

–  โมเด็มแบบติดตั้งภายนอก จะมีลักษณะเป็นกล่องสี่เหลี่ยมแบนๆ ภายในมีวงจรโมเด็ม
ไฟสถานะ และลำโพง เนื่องจากต่อภายนอกจึงต้องมี adapter แปลงสัญญาณไฟเลี้ยงวงจร
และจะมีสายต่อแบบ 25 ขา DB25 เอาไว้ใช้เชื่อมต่อผ่านทาง port อนุกรม RS – 232C

–  PCMCIA (Personal Computer Memory Card International Asociation) จะเป็นโมเด็มที่มีขนาดเล็กที่สุดคือมีขนาดเท่าบัตรเครดิตและหนาเพียง5มิลลิเมตรเท่านั้นซึ่งโมเด็มชนิดนี้ออกแบบมาโดยให้คอมพิวเตอร์โน้ตบุ๊กโดยเฉพาะซึ่งในปัจจุบันโมเด็มชนิดนี้จะมีความเร็วพอๆ กับโมเด็มที่ติดตั้งภายนอกและภายใน ในปัจจุบันนี้โมเด็มมีความเร็วสูงสุดที่ 56 Kbps (Kilobyte per second) โดยจะใช้ มาตรฐาน V.90 เป็นตัวกำหนด

โมเด็มชนิดติดตั้งภายนอก ภายใน         และ   PCMCIA


ภาพแสดงการเชื่อมต่อผ่านโมเด็มสู่เครือข่ายอินเตอร์เน็ต

3.  คู่สายโทรศัพท์ (Dial line) เป็นคู่สายโทรศัพท์บ้านสำหรับเชื่อมต่อกับโมเด็ม

4.  บัญชีผู้ใช้งาน (Account) จากผู้ให้บริการเอกชน ISP หรือขององค์กร/หน่วยงานต่างๆ เช่น SchoolNet 1509 ซึ่งจะกำหนดหมายเลขโทรศัพท์สำหรับการเชื่อมต่อ ชื่อผู้ใช้งาน (Username) และรหัสผ่าน (Password)

 (1.) ลักษณะการเชื่อมต่อแบบบุคคล 

การเชื่อมต่อเริ่มจากผู้ใช้งาน(User)หมุนโมเด็มไปยังหมายเลขโทรศัพท์ของผู้ให้บริการ
ที่มีโมเด็มต่ออยู่เช่นกันสัญญาณจากเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ใช้จะถูกเปลี่ยนจากสัญญาณ
ดิจิตอลเป็นอนาล็อกผ่านคู่สายโทรศัพท์ไปยังโมเด็มฝั่งตรงข้ามเพื่อเปลี่ยนกลับสัญญาณ
อนาล็อกเป็นดิจิตอลอีกครั้ง

สัญญาณขอเข้าเชื่อมเครือข่ายจะถูกส่งมายังเครื่องคอมพิวเตอร์ผู้ให้บริการเพื่อตรวจ
สอบสิทธิการใช้งานจาก Username และ Password ว่าถูกต้องหรือไม่ ถ้าถูกต้องก็จะ
ได้รับอนุญาตให้เชื่อมต่อได้ สามารถจะทำการรับ-ส่งไฟล์ รับ-ส่งอีเมล์ สนทนาผ่าน
เครือข่ายออนไลน์ และท่องโลกกว้างไซเบอร์สเปซทาง WWW ได้ทันที

(2.) การเชื่อมต่อแบบองค์กร   
จะเป็นการเชื่อมต่อเพื่อการใช้งานด้วยเครื่องคอมพิวเตอร์จำนวนมากที่ถูกต่อเข้าด้วยกันเป็นเครือข่าย มีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นเครื่องให้บริการ(Server)ด้านต่างๆและมีการเชื่อมต่อกับเครือข่ายอินเตอร์เน็ตอยู่ตลอดเวลา ซึ่งมีอุปกรณ์ที่สำคัญดังนี้

  1. คอมพิวเตอร์แม่ข่าย(Server)ควรเป็นคอมพิวเตอร์ที่มีความเร็วสัญญาณนาฬิกาของ

    หน่วยประมวลผลตั้งแต่ 500 MHz มีหน่วยความจำหลัก RAM ตั้งแต่ 512 MB ขึ้นไป จำนวนเครื่องขึ้นอยู่กับความต้องการและปริมาณการใช้งานขององค์กร

  2. ดิจิตอลโมเด็ม(NTU)และอุปกรณ์ชี้เส้นทาง(Router)คืออุปกรณ์ซึ่งทำหน้าที่แปลงสัญญาณ
    ดิจิตอลและกำหนดเส้นทางในการเชื่อมต่อ ด้วยหมายเลขIP Address ไปยังเครือข่ายอื่นๆ

  3. คู่สายเช่า (Lease line) เป็นคู่สายสัญญาณเช่าสำหรับการเชื่อมต่อแบบตลอดเวลา ไม่ต้องมีการหมุนหมายเลขโทรศัพท์ในการเชื่อมต่อ

  4. สิทธิการใช้งานเชื่อมต่อ (Air time) จากผู้ให้บริการเอกชน ISP หรือขององค์กร/หน่วยงานต่างๆ เช่น

    SchoolNet1509ซึ่งจะกำหนดหมายเลขIPAddressของกลุ่มเครื่องในเครือข่ายจำนวนหนึ่งมาให้สำ-

    หรับใช้กับอุปกรณ์ชี้เส้นทางและเครื่องแม่ข่าย

การเชื่อมต่อแบบนี้จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมากเหมาะสำหรับองค์กรที่มีปริมาณการใช้งาน
ของเครือข่ายสูงมีเครื่องคอมพิวเตอร์/สมาชิกเชื่อมต่อเป็นเครือข่ายภายในองค์กรเป็น
จำนวนมาก มีข้อมูลที่จะนำเสนอสู่สาธารณชนปริมาณมาก และปรับปรุงให้ทันสมัยอยู่เสมอ

Chatเป็นการประชุมหรือสนทนาผ่านเครือข่ายคอมพิวเตอร์เรียกย่อๆว่าIRC(InternetRelayChat) มีลักษณะคล้ายๆกับการทอล์ค(Talk)ซึ่งสามารถคุยเป็นการส่วนตัวหรือเป็นกลุ่มก็ได้โดยใช้การพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันแบบทันทีทันใดข้อความนั้นจะไปปรากฏบนจอภาพของเครื่องคอมพิวเตอร์ของผู้ที่ติดต่อด้วยในเวลาอันรวดเร็วเมื่อผู้รับอ่านข้อความนั้นแล้วก็สามารถพิมพ์ข้อความตอบกลับได้ในทันทีซึ่งในวงการการศึกษาสามารถนำมาใช้เพื่อการเรียนการสอนทางไกลได้ เราสามารถติดต่อสื่อสารกับบุคคลอื่นได้ทั่วโลกโดยการพิมพ์ข้อความถึงกันการสนทนาลักษณะนี้เราเรียกว่าchattingทำให้ผู้คนได้มีการแลกเปลี่ยนความรู้ความคิดเห็นและประสบการณ์ได้อย่างสะดวกประหยัดค่าใช้จ่ายเพราะลักษณะของการติดต่อสื่อสารจะไม่ต้องเสียค่าบริการแบบโทรศัพท์ทางไกล

IRC (Internet  Relay Chat)  เป็นรูปแบบของการสนทนาระหว่างกันโดยการส่งข้อความ(Massage)  จากเครื่องหนึ่งไปสู่อีกเครื่องหนึ่งโดยผู้ใช้สามารถพิมพ์ข้อความโต้ตอบกันได้ทันทีกลุ่มสนทนาอาจจะมีมากกว่า2คนขึ้นไปโปรแกรมIRCจะแสดงสถานะให้ทราบว่ามีใครบ้างกำลังร่วมสนทนากันอยู่  ใครบ้างเข้ามาใหม่ หรือ ใครบ้างที่กำลังออกจากระบบ


IRC  เป็นโปรแกรมที่พัฒนามาจากพื้นฐานของโปรแกรม Talk  บนระบบปฏิบัติการยูนิกซ์(UNIX)และนิยมเรียกกันว่า Chat   ปัจจุบันการสนทนาผ่านเครือข่ายนี้มีการพัฒนามากขึ้น หลายรูปแบบเช่น  โปรแกรมไอซีคิว (ICQ) ,โปรแกรมเพิร์ช (Pirch) , โปรแกรมไมโครซอฟท์เมสเสจ (MSN Message)  เป็นต้น

การสนทนาอีกแบบหนึ่งที่เรามักพบบนอินเตอร์เน็ต คือ เว็บบอร์ด (Webboard)  หมายถึง กระดานข่าวที่เปิดโอกาสให้ผู้ใช้อินเตอร์เน็ตเขียนข้อความของตนเองไปวางไว้ที่บอร์ดตามหัวข้อที่สนใจเมื่อมีผู้อื่นอ่านพบและสนใจตอบคำถามหรือสนทนาด้วยก็จะเขียนข้อความของตนส่งไปไว้บ้างทำให้เกิดการแลกเปลี่ยนข่าวสารบนอินเตอร์เน็ตขึ้น 

บอร์ดข่าวสาร Usenetเป็นบริการที่มีผู้นิยมใช้มากอีกบริการหนึ่งมีลักษณะคล้ายกับการใช้อีเมล์แต่แทนที่จะส่งจดหมายไปหาผู้รับโดยตรงอย่างอีเมล์ ก็จะเปลี่ยนเป็นการส่งข่าวไปยังศูนย์ที่เรียกว่ากลุ่มข่าว (Newsgroup)ซึ่งอาจเปรียบกลุ่มข่าว ได้กับบอร์ดข่าวสารที่ใช้ติดประกาศให้ผู้สนใจได้รับทราบ

อภิมหาเครือข่ายอินเตอร์เน็ต คือ เครือข่ายของเครือข่ายที่มีการเชื่อมโยงกันไปทั่วโลก ในแต่ละเครือข่ายก็จะมีเครื่องคอมพิวเตอร์ที่ทำหน้าที่เป็นผู้ให้บริการ ซึ่งอาจเรียกว่าเป็น เซิร์ฟเวอร์ (Server) หรือ โฮสต์ (Host) เชื่อมต่ออยู่เป็นจำนวนมาก ระบบคอมพิวเตอร์เหล่านี้จะให้บริการต่างๆ แล้วแต่ลักษณะและจุดประสงค์ที่เจ้าของเครือข่ายนั้นหรือเจ้าของระบบคอมพิวเตอร์นั้นตั้งขึ้น ในอดีตมักมีเฉพาะบริการเรื่องข้อมูลข่าวสารและโปรแกรมที่ใช้ในแวดวงการศึกษาวิจัยเป็นหลัก แต่ในปัจจุบันก็ได้ขยายเข้าสู่เรื่องของการค้าและธุรกิจแทบจะทุกด้าน บริการต่างๆ บนอินเตอร์เน็ตอาจแบ่งได้เป็น 2 กลุ่มใหญ่ๆ ดังนี้
1.  บริการด้านการสื่อสาร
2. บริการด้านข้อมูลต่างๆ

1.บริการด้านการสื่อสาร
เป็นบริการที่ช่วยให้ผู้ใช้สามารถติดต่อรับส่งข้อมูลแลกเปลี่ยนกันได้ในรูปแบบอิเล็กทรอนิกส์ซึ่งจะมีความรวดเร็วกว่าการติดต่อด้วยวิธีการแบบธรรมดาและมีค่าใช้จ่ายค่อนข้างถูกกว่ามาก
–  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ (E-mail)
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ E-mail เป็นบริการในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ที่สำคัญที่มีผู้นิยมใช้บริการกันมากที่สุด สามารถส่งตัวอักษร ข้อความ แฟ้มข้อมูล ภาพ เสียง ผ่านระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์ไปยังผู้รับ อาจจะเป็นคนเดียว หรือกลุ่มคนโดยทั้งที่ผู้ส่งและผู้รับเป็นผู้ใช้ที่อยู่ในระบบเครือข่ายคอมพิวเตอร์เดียวกัน ช่วยให้สามารถติดต่อสื่อสารระหว่างกันได้ทั่วโลก มีความสะดวก รวดเร็วและสามารถสื่อสารถึงกันได้ตลอดเวลา โดยไม่ต้องคำนึงถึงว่าผู้รับจะอยู่ที่ไหน จะใช้เครื่องคอมพิวเตอร์อยู่หรือไม่ เพราะไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะเก็บข้อความเหล่านั้นไว้ เมื่อผู้รับเข้าสู่ระบบเครือข่าย ก็จะเห็นข้อความนั้นรออยู่แล้ว ความสะดวกเหล่านี้ทำให้นักวิชาการสามารถแลกเปลี่ยนข้อมูลข่าวสารถึงกันและกัน นักศึกษาสามารถปรึกษา หรือฝึกฝนทักษะกับอาจารย์ หรือ เพื่อนนักศึกษาด้วยกันเอง โดยไม่ต้องคำนึงถึงเวลา และระยะทาง โดยผู้ใช้สามารถติดต่อสื่อสารกันได้ไม่ว่าจะอยู่ตรงส่วนใดของมุมโลก
–  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นสื่อประเภทหนึ่งที่เหมาะสมในการเรียนรู้ และช่วยขจัดปัญหาในเรื่องของเวลาและระยะทาง ผู้เรียนจะรู้สึกอิสระและกล้าแสดงออกมากกว่าปกติ ตลอดจนสามารถเข้าถึงผู้เรียนเป็นรายบุคคลได้เป็นอย่างดีในยุคสารสนเทศดังเช่นปัจจุบัน ระบบการสื่อสารที่มีประสิทธิภาพจะมีบทบาทสำคัญในการพัฒนาสังคมให้เข้าถึงข้อมูลข่าวสารได้อย่างรวดเร็ว ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์เป็นรูปแบบการสื่อสารที่ทันสมัยรูปแบบหนึ่งที่มีความสำคัญ คือ

1.  ทำให้การให้การติดต่อสื่อสารทั่วโลกเป็นไปอย่างรวดเร็วทันที ระยะทางไม่เป็นอุปสรรค สำหรับไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ในทุกแห่งทั่วโลกที่มีเครือข่ายคอมพิวเตอร์เชื่อมต่อถึงกันได้ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ก็สามารถเข้าไปสถานที่เหล่านั้นได้ทุกที่ ทำให้ผู้คนทั่วโลกติดต่อถึงกันได้ทันที ผู้รับสามารถจะรับข่าวสารจากไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ได้แทบจะทันทีที่ผู้ส่งจดหมายส่งข้อมูลผ่านทางคอมพิวเตอร์เสร็จสิ้นไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับที่ี่ต้องการได้ทุกเวลา แม้ผู้รับจะไม่ได้อยู่ที่ หน้าจอ คอมพิวเตอร์ก็ตาม จดหมายจะถูกเก็บไว้ในตู้จดหมายของคอมพิวเตอร์และเป็นส่วนตัว จนกว่าเจ้าของจดหมายที่มีรหัสผ่านจะเปิดตู้จดหมายของตนเอง

2.  ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถส่งจดหมายถึงผู้รับหลายๆ คนได้ในเวลาเดียวกัน โดยไม่ต้องเสียเวลาส่งให้ทีละคน กรณีนี้จะใช้กับจดหมายที่เป็นข้อความเดียวกัน เช่น หนังสือเวียนแจ้งข่าวให้สมาชิกในกลุ่มทราบ หรือเป็นการนัดหมายระหว่างสมาชิกในกลุ่ม เป็นต้นการส่งจดหมายทางไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ช่วยประหยัดเวลาในการเดินทางไปส่งจดหมายถึงตู้ไปรษณีย์ หรือที่ทำการไปรษณีย์ ประหยัดค่าใช้จ่ายในการส่ง เนื่องจากไม่ต้องคำนึงถึงปริมาณน้ำหนัก และระยะทาง ของจดหมายเหมือนกับไปรษณีย์ธรรมดา
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์นั้น ผู้รับจดหมายสามารถเรียกอ่านจดหมายได้ทุกเวลาตามสะดวก โปรแกรมของ ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์จะแสดงให้ทราบว่าในตู้จดหมายของผู้รับมีจดหมายกี่ฉบับ มีจดหมายที่อ่านแล้ว และยังไม่ได้เรียกอ่านกี่ฉบับ เมื่ออ่านจดหมายฉบับใดแล้ว หากต้องการลบทิ้ง ก็สามารถเก็บข้อความไว้ในรูปของแฟ้มข้อมูลได้ หรือจะพิมพ์ออกมาลงกระดาษก็ได้เช่นกัน หรืออาจแก้ไข้ข้อความบางอย่างในจดหมายนั้น จากจอภาพแล้วส่งต่อไปยังผู้อื่นได้ด้วย
ไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์สามารถถ่ายโอนแฟ้มข้อมูล (Transferring Files) แนบไปกับจดหมายถึงผู้รับได้ ทำให้การแลกเปลี่ยนข่าวสารเป็นไปได้ โดยสะดวก รวดเร็ว ทันเวลา และ ทันเหตุการณ์
จากความสำคัญของไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ ที่สามารถอำนวยประโยชน์ให้กับผู้ใช้อย่างคุ้มค่านี้ ทำให้ในปัจจุบันไปรษณีย์อิเล็กทรอนิกส์ แทบจะกลายเป็นส่วนหนึ่งของสำนักงานทุกแห่งทั่วโลก และในที่สุดเมื่อทุกบ้านมีคอมพิวเตอร์ใช้ สมาชิกในชุมชนโลกก็จะสามารถติดต่อกันผ่านทางคอมพิวเตอร์ การทำงานตามสำนักงาน หรือสถานที่ต่างๆ จะถูกเปลี่ยนไปสู่การทำงานที่บ้านมากขึ้นโดยการรับส่งงานทางคอมพิวเตอร์

3. สนทนาแบบออนไลน์ (Chat)
ผู้ใช้บริการสามารถคุยโต้ตอบกับผู้ใช้คนอื่นๆ ในอินเตอร์เน็ตได้ในเวลาเดียวกัน (โดยการพิมพ์เข้าไปทางคีย์บอร์ด) เสมือนกับการคุยกันแต่ผ่านเครื่องคอมพิวเตอร์ของทั้งสองที่ ซึ่งก็สนุกและรวดเร็วดี บริการสนทนาแบบออนไลน์นี้เรียกว่า Talk เนื่องจากใช้โปรแกรมที่ชื่อว่า Talk ติดต่อกัน หรือจะคุยกันเป็นกลุ่มหลายๆ คนในลักษณะของการ Chat (ชื่อเต็มๆ ว่า Internet Relay Chat หรือ IRC ก็ได้) ซึ่งในปัจจุบันก็ได้พัฒนาไปถึงขั้นที่สามารถใช้ภาพสามมิติ ภาพเคลื่อนไหวหรือการ์ตูนต่างๆ แทนตัวคนที่สนทนา

กันได้แล้ว และยังสามารถคุยกันด้วยเสียงในแบบเดียวกับ โทรศัพท์ ตลอดจนแลกเปลี่ยนข้อมูลบนจอภาพหรือในเครื่องของผู้สนทนาแต่ละฝ่ายได้อีกด้วยโดย การทำงาน แบบนี้ก็จะอาศัยโปรโตคอลช่วยในการติดต่ออีกโปรโตคอลหนึ่งซึ่งมีชื่อว่า IRC (Internet Relay Chat) ซึ่งก็เป็นโปรโตคอลอีกชนิดหนึ่งบนเครือข่ายอินเตอร์เน็ตที่สามารถทำให้ User หลายคนเข้ามาคุยพร้อมกันได้ผ่านตัวหนังสือแบบ Real time โดยจะมีหลักการคือ

–   มีเครื่อง Server ซึ่งจะเรียกว่าเป็น IRC server ก็ได้ซึ่ง server นี้ก็จะหมายถึงฮาร์ดแวร์+ซอฟแวร์โดยที่ฮาร์ดแวร์คือ คอมพิวเตอร์ที่จำเป็นจะต้องมีทรัพยากรระบบค่อนข้างสูงและจะต้องมีมากกว่า 1 เครื่องเพื่อรองรับ User หลายคน
–   เครื่องของเราจะทำหน้าที่เป็นเครื่อง Client ซึ่งก็คือคอมพิวเตอร์ที่เชื่อมต่อเข้ากับอินเทอร์เน็ตได้แบบธรรมดา โดยที่ไม่ต้องการทรัพยากรมากนัก และก็ต้องมีโปรแกรมสำหรับเชื่อมต่อเข้า Irc server ได้
การสนทนาผ่านเครือข่ายออนไลน์ที่ได้รับความนิยมในปัจจุบันมีหลายโปรแกรมเช่น โปรแกรม Pirch, ICQ, Windows Messenger (MSN), Yahoo Messenger

–   “กระดานข่าว” หรือบูเลตินบอร์ด
บนเครือข่ายอินเตอร์เน็ต มีการให้บริการในลักษณะของกระดานข่าวหรือบูเลตินบอร์ด (คล้ายๆ กับระบบ Bulletin Board System หรือ BBS) โดยแบ่งออกเป็นกลุ่มย่อยๆ จำนวนหลายพันกลุ่ม เรียกว่าเป็น กลุ่มข่าว หรือ Newsgroup ทุกๆ วันจะมีผู้ส่งข่าวสารกันผ่านระบบดังกล่าว โดยแบ่งแยกออกตามกลุ่มที่สนใจ เช่น กลุ่มผู้สนใจ ศิลปะ กลุ่มผู้สนใจ เพลงร็อค กลุ่มวัฒนธรรมยุโรป ฯลฯ

นอกจากนี้ก็มีกลุ่มที่สนใจในเรื่องของประเทศต่างๆ เช่น กลุ่ม Thai Group เป็นต้น การอ่านข่าวจากกลุ่มข่าวต่างๆ ใน Usenet (User Network) หรือ Newsgroup นั้นนับเป็นช่องทางหนึ่งในการติดต่อแลกเปลี่ยน ความคิดเห็นกับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตคนอื่นๆ ในระดับโลก ซึ่งมักจะใช้ภาษาอังกฤษเป็นหลักในการสื่อสารกัน ซึ่งใน Usenet นี้ เราสามารถเลือกอ่านข้อความในหัวข้อที่เราสนใจ และฝากข้อความคำถามคำตอบของเราไว้บนกระดานข่าวนั้นได้
ถ้าเราไม่สนใจในกลุ่มข่าวสารที่เคยเป็นสมาชิกอยู่อีกต่อไป เราก็อาจยกเลิกการเป็นสมาชิก (Unsubscribe) ของกลุ่มข่าวนั้นและไปเป็นสมาชิกของกลุ่มอื่นๆ แทนก็ได้ การเป็นสมาชิกและการบอกเลิกสมาชิกของกลุ่มข่าวต่างๆ นั้นรวมทั้งการใช้บริการ Usenet จะไม่เสียค่าใช้จ่ายใดๆ ทั้งสิ้น
กระดานข่าวที่น่าสนใจของไทยและมีสมาชิกร่วมในการสนทนามากที่สุดในปัจจุบันคือ กระดานข่าวพันทิพ ที่ URL : http://www.pantip.com ซึ่งประกอบไปด้วยผู้ใช้ที่มีความสนใจหลากหลายเช่น กระดานข่าวเทคนิคคอมพิวเตอร์ทั้งทางด้านระบบปฏิบัติการ ซอฟท์แวร์ ฮาร์ดแวร์ ฯลฯ สภากาแฟของคนชอบการเมือง ชอบด้านเครื่องยนต์กลไก และอื่นๆ อีกมากลองเข้าไปร่วมวงสนทนากันได้

4. บริการเข้าระบบระยะไกล Telnet
ในกรณีที่ผู้ใช้ต้องการใช้งานเครื่องคอมพิวเตอร์เครื่องอื่นซึ่งตั้งอยู่ไกลออกไป ก็สามารถใช้บริการ Telnet เพื่อเข้าใช้งานเครื่องดังกล่าวได้เหมือนกับเราไปนั่งที่หน้าเครื่องนั้นเอง โดยจำลองคอมพิวเตอร์ของเราให้เป็นเสมือนจอภาพบนเครื่องคอมพิวเตอร์นั้นได้

โปรแกรม Telnet นับได้ว่าเป็นคำสั่งพื้นฐานที่มีประโยชน์มากสำหรับ การใช้งานอินเตอร์เน็ตในแบบตัวอักษร (Text mode) หน้าที่ของโปรแกรม Telnet นั้นจะช่วยให้ผู้ใช้สามารถทำการ Login เข้าไปยังเครื่องคอมพิวเตอร์ต่างๆ ที่ต่อเชื่อมอยู่ในเครือข่ายได้ และใช้บริการสำเนาไฟล์ รับส่งอีเมล์ได้

.
2 บริการด้านข้อมูลต่าง ๆ
ทำให้ผู้ใช้สามารุค้นหาข้อมูลต่าง  ๆที่ตงการได้อย่างรวดเร็ว  และประหวัดค่าใช้จ่าย  ซึ่งบริการต่าง  ๆ  ที่มีบนระบบเครือข่ายอินเตอร์เน็ต  เช่น
1.  Archie
อาร์ซี  เป็นระบบการค้นหาข้อมูลหรือแฟ้มข้อมูลที่เป็นบริการสำหรับผู้ใช้ที่ทราบชื่อแฟ้มข้อมูลต่าง  ๆ  ทำหน้าที่เสมือนเป็นบรรณารักษ์ที่มีรายชื่อของหนังสือทั้งหมด  เมื่อผู้ใช้ทราบแฟ้มข้อมูลที่ต้องการ  ก็ทำการโอนถ่ายแฟ้มข้อมูลโดยใช้  FTP
2.  WAIS
WAIS    เป็นบริการค้าหาข้อมูลโดยการค้นหาข้อมูลจากเนื้อหาของข้อมูลแทนการค้นหาตามชื่อของแฟ้มขอมูล  ซึ่งช่วยในการค้นหาข้อมูลจากฐานข้อมูลแบบกระจาย
3.  Gopher
โกเฟอร์  เป็นโปรแกรมที่ช่วยในการค้นหาข้อมูลโดยผ่านระบบเมนูตามลำดับชั้น  ฐานข้อมูลของระบบโกเฟอร์จะกระจายกันอยู่ทั่วโลก  และมีการเชื่อมโยงกันอยู่ผ่านระบบเมนูของโกเฟอร์
4.  Veronica
เวโรนิก้า  เป็นระบบที่ช่วยการค้นหาข้อมูลด้วยคำที่ต้องการ (Keyword)  เป็นบริการที่ใช้งานร่วมกับโกเฟอร์  เพื่อช่วยในการค้นหาข้อมูลโดยไม่ต้องผ่านเมนูตามลำดับชั้น  ทำให้สามารถค้นหารข้อมูลได้รวดเร็วขึ้น
5.  Mailing  List
เป็นบริการรายชื่อเมล  เป็นระบบฐานข้อมูลที่เก็บที่อยู่ของจดหมายอิเล็กทรอนิกส์ของกลุ่มผู้ใช้ที่สนในในเรื่องเดียวกัน
6.  WWW  (World&nâsp; Wide  Web)
เวิลด์ไวด์เว็บ  เป็นบริการค้นหาและแสดงข้อมูลที่ใช้หลักการของ  HTTP  (Hypertext  Transfer  Protocol)  ผู้ใช้สามารถค้นหาข้อมูลได้จากเครื่องให้บริการที่เรียกว่า  Web  Server  โดยอาศัยซอฟต์แวร์บราวเซอร์

 ทุกสรรพสิ่งในโลกย่อมมีทั้งด้านที่เป็นคุณประโยชน์และด้านที่เป็นโทษเปรียบเหมือนเหรียญที่มี 2ด้านเสมอขึ้นอยู่กับว่าเราจะเลือกใช้อย่างไรให้เกิดผลดีต่อเราขอยกตัวอย่างโทษที่อาจจะเกิด
ขึ้นได้จากการใช้งานอินเทอร์เน็ตดังนี้

โรคติดอินเตอร์เน็ต (Webaholic)

อินเทอร์เน็ตก็เป็นสิ่งเสพติดหรือ หากการเล่นอินเตอร์เน็ตทำให้คุณเสียงานหรือแม้แต่ทำลายสุขภาพ นักจิตวิทยาชื่อ Kimberly S. Young ได้ศึกษาพฤติกรรม ของผู้ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างมากเป็นจำนวน 496คนโดยเปรียบเทียบกับบรรทัดฐานซึ่งใช้ในการจัดว่าผู้ใดเป็นผู้ที่ติดการพนันการติดการพนัน
ประเภทที่ถอนตัวไม่ขึ้นมีลักษณะคล้ายคลึงกับการติดอินเตอร์เน็ตเพราะทั้งสองอย่างเกี่ยวข้องกับ
การล้มเหลวในการควบคุมความต้องการของตนเอง โดยไม่มีส่วนเกี่ยวข้องกับสารเคมีใดๆ (อย่างสุรา หรือยาเสพติด)

คำว่า อินเทอร์เน็ต ในการศึกษาวิจัยเรื่องนี้ หมายรวมถึง ตัวอินเตอร์เน็ตเอง ระบบออนไลน์ (อย่างเช่นบริการ AmericaOn-line, Compuserve, Prodigy) หรือระบบ BBS (Bulletin Board Systems) และการศึกษาวิจัยครั้งนี้ได้ระบุว่า ผู้ที่มีคุณสมบัติดังต่อไปนี้อย่างน้อย 4อย่างเป็นเวลานานอย่างน้อย 1 ปีถือได้ว่า มีอาการติดอินเตอร์เน็ตรู้สึกหมกมุ่นกับอินเตอร์เน็ต แม้ในเวลาที่ไม่ได้ต่อกับอินเตอร์เน็ต

    • มีความต้องการใช้อินเตอร์เน็ตเป็นเวลานานขึ้น

    • ไม่สามารถควบคุมการใช้อินเตอร์เน็ตได้

    • รู้สึกหงุดหงิดเมื่อต้องใช้อินเตอร์เน็ตน้อยลงหรือหยุดใช้

    • ใช้อินเทอร์เน็ตเป็นวิธีในการหลีกเลี่ยงปัญหาหรือคิดว่าการใชอินเตอร์เน็ตทำให้ตนเองรู้สึกดีขึ้น

    • หลอกคนในครอบครัวหรือเพื่อน เรื่องการใช้อินเตอร์เน็ตของตัวเอง

    • การใช้อินเตอร์เน็ตทำให้เกิดการเสี่ยงต่อการสูญเสียงาน การเรียน และความสัมพันธ ์ ยังใช้อินเตอร์เน็ตถึงแม้ว่าต้องเสียค่าใช้จ่ายมาก

    • มีอาการผิดปกติ อย่างเช่น หดหู่ กระวนกระวายเมื่อเลิกใช้อินเตอร์เน็ต

    • ใช้เวลาในการใช้อินเตอร์เน็ตนานกว่าที่ตัวเองได้ตั้งใจไว้

สำหรับผู้ใช้อินเตอร์เน็ตที่ไม่เข้าข่ายข้างต้นเกิน3ข้อในช่วงเวลา1ปีถือว่ายังเป็นปกติจากการศึกษาวิจัย ผู้ที่ใช้อินเตอร์เน็ตอย่างหนัก 496 คน มี 396 คนซึ่งประกอบไปด้วย เพศชาย 157 คน และเพศหญิง 239 คนเป็นผู้ที่เรียกได้ว่า”ติดอินเตอร์เน็ต”ในขณะที่อีก100คนยังนับเป็นปกติประกอบด้วยเพศชายและเพศหญิง 46 และ 54 คนตามลำดับ

สำหรับผู้ที่จัดว่า “ติดอินเตอร์เน็ต” นั้นได้แสดงลักษณะอาการของการติด (คล้ายกับการติดการพนัน) และการใช้อินเตอร์เน็ตอย่างหนักเหมือนกับการเล่นการพนันความผิดปกติในการกินอาหารหรือสุราเรื้อรังมีผลกระทบต่อการเรียน อาชีพ สภาพทางสังคมและเศรษฐกิจของคนคนนั้น ถึงแม้ว่าการวิจัยที่ผ่านมาได้แสดงให้เห็นว่า การติดเทคโนโลยีอย่างเช่น การติดเล่นเกมส์ ส่วนใหญ่จะเกิดขึ้นกับเพศชายแต่ผลลัพธ์ข้างต้น แสดงให้เห็นว่า ผู้ที่ติดอินเตอร์เน็ตส่วนใหญ่เป็นเพศหญิง วัยกลางคนและไม่มีงานทำ

เรื่องอนาจารผิดศีลธรรม(Pornography/Indecent Content)

เรื่องของข้อมูลต่างๆ ที่มีเนื้อหาไปในทางขัดต่อศีลธรรม ลามกอนาจาร หรือรวมถึงภาพโป๊เปลือยต่างๆนั้นเป็นเรื่องที่มีมานานพอสมควรแล้วบนโลกอินเตอร์เน็ตแต่ไม่โจ่งแจ้งเนื่องจากสมัยก่อนเป็นยุคที่ WWW ยังไม่พัฒนามากนัก ทำให้ไม่มีภาพออกมาแต่ในปัจจุบันภาพเหล่านี้เป็นที่โจ่งแจ้งบนอินเตอร์เน็ตและสิ่งเหล่านี้สามารถเข้าสู่เด็กและเยาวชนได้ง่ายโดยผู้ปกครองไม่สามารถที่จะให้ความดูแลได้เต็มที่เพราะว่าอินเตอร์เน็ตนั้นเป็นโลกที่ไร้พรมแดนและเปิดกว้างทำให้สื่อเหล่านี้สามารถเผยแพร่ไปได้รวดเร็วจนเรา ไม่สามารถจับกุมหรือเอาผิดผู้ที่ทำสิ่งเหล่านี้ขึ้นมาได้

ไวรัส ม้าโทรจัน หนอนอินเตอร์เน็ต และระเบิดเวลา
ไวรัส : เป็นโปรแกรมอิสระ ซึ่งจะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองให้มากขึ้นเรื่อยๆ เพื่อที่จะทำลายข้อมูล หรืออาจทำให้เครื่องคอมพิวเตอร์ทำงานช้าลงโดยการแอบใช้สอยหน่วยความจำหรือพื้นที่ว่างบนดิสก์โดยพลการ

ม้าโทรจัน : ม้าโทรจันเป็นตำนานนักรบที่ซ่อนตัวอยู่ในม้าไม้ แล้วแอบเข้าไปในเมืองจนกระทั่งยึดเมืองได้สำเร็จโปรแกรมนี้ก็ทำงานคล้ายๆ กัน คือโปรแกรมนี้จะทำหน้าที่ไม่พึงประสงค์ มันจะซ่อนตัวอยู่ในโปรแกรมที่ไม่ได้รับอนุญาต มันมักจะทำในสิ่งที่เราไม่ต้องการ และสิ่งที่มันทำนั้นไม่มีความจำเป็นต่อเราด้วย เช่น การแอบส่งรหัสผ่านต่างๆ ภายในเครื่องของเราไปให้ผู้เขียนโปรแกรม
หนอนอินเตอร์เน็ต : ถูกสร้างขึ้นโดย Robert Morris, Jr. จนดังกระฉ่อนไปทั่วโลก มันคือโปรแกรมที่จะสืบพันธุ์โดยการจำลองตัวเองมากขึ้นเรื่อยๆ จากระบบหนึ่ง ครอบครองทรัพยากรและทำให้ระบบช้าลง

ระเบิดเวลา : คือรหัสซึ่งจะทำหน้าที่เป็นตัวกระตุ้นรูปแบบเฉพาะของการโจมตีนั้นๆ ทำงานเมื่อสภาพการโจมตีนั้นๆมาถึง ยกตัวอย่างเช่น ระเบิดเวลาจะทำลายไฟล์ทั้งหมดในวันที่ 31 กรกฎาคม 2542

นอกจากนี้ ยังมีเรื่องหลอกหลวงต่างๆ อีกมากมายที่กลายเป็นข่าวให้เราได้รับทราบอยู่เสมอ การพยายามในการเจาะทำลายระบบเพื่อล้วงความลับหรือข้อมูลต่างๆ ดังนั้น การใช้งานเครือข่ายอินเตอร์เน็ตจึงต้องมีความระมัด

ระวังในการใช้งาน มีวิจารณญาณในการรับข้อมูลข่าวสาร กลั่นกรองจากหลายๆ แหล่งเพื่อไม่ให้ตกเป็นเหยื่อจากเหล่ามิจฉาชีพไฮเทคเหล่านี้

เครื่องดืมและการบริการ

ชนิดของเครื่องดื่ม ในปัจจุบันเครื่องดื่มที่ผลิตและจำนวนที่ผลิตจำหน่าย โดยทั่วไปมีมากมายหลายชนิด ทั้งแบบที่มีประโยชน์และอาจเป็นอันตรายต่อร่างกาย ดังนั้น เพื่อสุขภาพที่ดี ให้รสชาติที่อร่อย เกิดความสดชื่น เป็นที่ต้องการของผู้บริโภค ผู้

๑. น้ำดื่ม

เป็นน้ำสะอาดที่มาตรฐานขององการอนามัยโลกกำหนด ไม่มีรสชาตและไม่มีอัดลม ซึ่งปัจจุบันน้ำดื่มที่

เรานิยมนำมาบริโภคนั้นมีทั้งแบบนำน้ำประปาที่ผ่านการกรองผลิตควรเลือกผลิตเครื่องดื่มที่มีประโยชน์ต่อร่างกายของผู้บริโภคให้มากที่สุด ซึ่งเครื่องดื่มที่ผลิตและจำหน่ายอยู่ทั่วไป มีดังนี้

แล้วมาต้มสุก  และแบบบรรจุขวดที่มี

จำหน่ายอยู่ทั่วไปตามร้านค้าและห้างสรรพสินค้าต่างๆ

๒. น้ำแร่

เป็นน้ำที่ได้จากแหล่งน้ำที่เกิดขึ้นเองโดยธรรมชาติ และมีแร่ธาตุบางชนิดผสมอยู่ในปริมาณ

ที่เหมาะสม  ซึ่งแร่ธาตุที่สำคัญ เช่น แคลเซียม  ฟลูออไรด์  แมกนีเซียม  โซเดียม      

 โพเทสเซียม  ซัลเฟตไบคาร์บอเนต  สังกะสี  เป็นต้น

๓. โซดา

เป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์ชนิดอัดแก๊สคาร์บอนไดออกไซด์ สำหรับใช้ดื่มในบางโกาส  และนิยมปรุงผสมกับเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล

บางชนิด  ในบางครั้งอาจนำมาปรุงผสมกับเครื่องดื่มประเภทอื่น  เพื่อให้มีรสซาบซ่า  ชวนดื่ม

 ๔. น้ำหวานผสมสี

เป็นเครื่องดื่มที่ไม่มีแอลกอฮอล์และไม่อัดลม  ประกอบด้วยน้ำตาลละลายน้ำ  มีการแต่งสี  กลิ่น  รส  และใส่สารกันเสีย 

 ก่อนดื่มต้องเติมน้ำให้เจือจาง

        

๕. น้ำหวานอัดแก๊ส

เรียกกันนทั่วไปว่า น้ำอัดลม เป็นเครื่องดื่มที่ทำมาจากน้ำหวานมีการแต่งสี  กลิ่น  รส  และเติมกรด  ซึ่งสามารถบริโภคได้

 โดยไม่อันตรายต่อร่างกาย

 ๖. น้ำผักและน้ำผลไม้

เป็นเครื่องดื่มที่มีกลิ่นและรสชาติของผักและผลไม้  โดยทำมาจากผักและผลไม้หลายชนิด นอกจากนี้เรายังสามารถนำสมุนไพรหรือดอกไม้

มาทำเป็นเครื่องดื่มธรรมชาติเพื่อสุขภาพได้อีกด้วย

๗. พั้นช์

เป็นน้ำผลไม้ปรุงแต่งที่ทำมาจาผลไม้หลาย ๆ ชนิดผสมกัน  เพื่อให้มีกลิ่น สี และรสชาติที่แตกต่างกันออกไป  และอาจมีชิ้นผลไม้หั่นหรือตัด

เป็นรูทรงต่าง ๆ ผสมอยู่  บางครั้งอาจเติมน้ำโซดาก่อนเสิร์ฟเพื่อให้มีรสซ่า

                                                              

๘. ชา

เป็นเครื่องดื่มที่มีทั้งแบบผงและแบบแห้งบรรจุซอง  วิธีดื่มชาแบบผงใช้วิธีชง ส่วนแบบแห้งให้ใช้น้ำร้อนเทราดบนใบชา ในกาหรือถ้วยชาที่

เตรียมไว้

๙. กาแฟ

เป็นเครื่องดื่มที่ทำมาจากเมล็ดกาแฟที่มีฤทธิ์กดประสาท  เพิ่มการไหลเวียนของโลหิตไปเลี้ยงสมอง  ทำให้เกิดควารูสึกตื่นตัว  สดชื่น

 กระปรี้ กระเปร่า  ไม่ง่วง

๑๐. โกโก้

เป็นเครื่องดื่มที่ทำมาจากเมล็ดโกโก้  เมื่อดื่มต้องชงด้วยน้ำร้อน ซึ่งสามารถผสมด้วยน้ำตาล  ครีม  และนมข้นหวาน

Hello world!

Welcome to WordPress.com. After you read this, you should delete and write your own post, with a new title above. Or hit Add New on the left (of the admin dashboard) to start a fresh post.

Here are some suggestions for your first post.

  1. You can find new ideas for what to blog about by reading the Daily Post.
  2. Add PressThis to your browser. It creates a new blog post for you about any interesting  page you read on the web.
  3. Make some changes to this page, and then hit preview on the right. You can alway preview any post or edit you before you share it to the world.